5 เส้นทางอาชีพยอดนิยมสาย นิเทศ วารสาร และ การสื่อสาร

Table of Contents

     กำลังหาข้อมูลในการเลือกเรื่องด้านการสื่อสารแต่ไม่แน่ใจว่าเหมาะกับตัวเองอยู่ใช่ไหม? หรือกำลังสงสัยว่าหลักสูตรนี้สามารถจบไปแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง?

     หลักสูตรด้าน นิเทศ ศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชนถือเป็นหลักสูตรหนึ่งในยุคนี้ที่เปิดประตูสู่โอกาสทางอาชีพที่หลากหลายมาก ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ การตลาด การผลิตสื่อ การสร้างเนื้อหา สื่อสารมวลชนไปจนถึงการจัดการสื่อออนไลน์และแพลตฟอร์มต่างๆ และเนื่องด้วยพฤติกรรมของผู้คนในปัจจุบันได้ใช้เวลาอยู่บนสื่อออนไลน์กันมากขึ้น ทำให้ความต้องการในบุคคลากรด้านการสื่อสารและจัดการสื่อออนไลน์มากขึ้นตามไปด้วย อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าสาขาการสื่อสารนี้สามารถจบไปทำอาชีพได้หลายอย่างมาก และในบทความนี้พี่ได้รวบรวม 5 เส้นทางอาชีพที่ได้รับความนิยมสูงสุดในยุคนี้ สำหรับน้องๆ ที่กำลังตัดสินใจอยู่ว่าหลักสูตรมีความสนใจศึกษาด้าน นิเทศ ศาสตร์ วารสารศาสตร์ และสื่อสารมวลชนมาให้แล้ว เพื่อช่วยเป็นแนวทางให้น้องๆ เริ่มวางแผนโอกาสการทำงานในอนาคตบนเส้นทางสายนี้กันค่ะ

PR

     PR หรือ Public Relations เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์ อาชีพนี้มีบทบาทสำคัญในการสร้างและรักษาชื่อเสียงขององค์กรหรือบุคคล ในการสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ กับองค์กร ไม่ว่าจะลูกค้า พนักงาน นักลงทุน และสาธารณะ

หน้าที่หลักของ PR ได้แก่

  • จัดการปัญหาและสื่อสารในภาวะวิกฤตขององค์กร
  • ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับแนวโน้มการพัฒนาของอุตสาหกรรมเพื่อปรับกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ให้สอดคล้องกัน
  • จัดทำกลยุทธ์และแผนประชาสัมสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมชื่อเสียงขององค์กรหรือบุคคล

Marketing

     Marketer หรือนักการตลาดทำหน้าที่สร้างกลยุทธ์และแคมเปญทางการตลาดเพื่อเพิ่มยอดขายและบรรลุเป้าหมายรายได้ของบริษัท

หน้าที่หลักของ Marketer ได้แก่

  • วิจัยตลาดเพื่อทำความเข้าใจความต้องการและความพึงพอใจของผู้บริโภค
  • หาวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลูกค้า
  • สร้างสื่อโฆษณาและส่งเสริมการขาย
  • ดำเนินการตามแผนการตลาด
  • ต้องคอยวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแคมเปญการตลาดและทำความเข้าใจข้อมูลเพื่อปรับปรุงแผนการตลาดอยู่อย่างสม่ำเสมอ

Social Media Manager

     ผู้จัดการโซเชียลมีเดียมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดการ และสร้างกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของบริษัทหรือองค์กร เป้าหมายการทำงานหลักๆ คือเพื่อเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ การมีส่วนร่วม และกระตุ้นการเข้าชมเว็บไซต์ผ่านการใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ เช่น Facebook, Twitter, InstagramTikTok และอื่นๆ

หน้าที่หลักของ Social Media Manager ได้แก่

  • การวางแผนผลิตเนื้อหาที่น่าสนใจ เช่น บทความ รูปภาพ และวิดีโอ เพื่อแชร์ลงบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย
  • การสร้างฐานผู้ติดตามบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย

Content Creator

     Content Creator หรือผู้ทำหน้าที่ผลิตและสร้างเนื้อหาต่างๆ ออกมาเป็นบทความ ภาพ หรือ เสียงสำหรับใช้ในสื่อรูปแบบต่างๆ เช่น เว็บไซต์ บล็อก แพลตฟอร์ม โซเชียลมีเดีย และ แพลตฟอร์มวีดีโอ มีหน้าที่ในการให้ข้อมูลและผลิตเนื้อหาที่เป็น Original ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย

หน้าที่หลักของ Content Creator ได้แก่

  • สร้างสรรค์ไอเดียเนื้อที่จะดึงดูดผู้ชมกลุ่มเป้าหมาย
  • เขียนสคริปต์ ถ่ายทำเนื้อหา เช่น เขียนบทความ ทำ Podcast หรือโพสต์ในโซเชียลมีเดีย
  • คอยติดตามเทรนด์ล่าสุดในการผลิตเนื้อหาต่างๆ

Journalist

     นักข่าวมีหน้าที่รวบรวมข้อมูล เขียนและรายงานข่าวและเหตุการณ์ปัจจุบันเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบผ่านสื่อรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือสือพิมพ์ นิตยสาร โทรทัศน์ และ แพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

หน้าที่หลักของ Journalist ได้แก่

  • มีหน้าที่รับผิดชอบในการค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์และประเด็นข่าวที่น่าสนใจ
  • ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและตรวจสอบข้อเท็จจริงในการทำงานเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลถูกต้องและเป็นกลาง
  • ใช้สื่อรูปแบบต่างๆ เช่น วิดีโอ และเสียงสัมภาษณ์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวและนำเสนอข้อมูลให้มีความน่าสนใจ

สรุป

    ปริญญาด้าน นิเทศ ฯ วารสารฯ และสื่อสารมวลชนเปิดโอกาสทางอาชีพที่หลากหลาย ตั้งแต่การประชาสัมพันธ์ การตลาด การผลิตสื่อ การสร้างเนื้อหา สื่อสารมวลชนไปจนถึงการจัดการสื่อออนไลน์ หลังจากที่ได้ทราบแล้วว่าเส้นทางอาชีพที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับสำหรับคณะสายนี้คืออาชีพไหนบ้าง ก็หวังว่าน้องๆ พอมีข้อมูลในการช่วยตัดสินใจได้ไม่มากก็น้อยว่าหลักสูตรการสื่อสารนั้นเหมาะสมกับน้องหรือไม่ค่ะ