สำหรับคนที่ไม่เก่งกราฟฟิคแต่อยากจะมี พอร์ตโฟลิโอ สวยๆ ไม่ต้องน้อยใจไปค่ะ พี่เข้าใจมากๆ และในฐานะที่พี่ก็เป็นคนที่ไม่เก่งกราฟฟิคและใช้โปรแกรมยากๆ ไม่ค่อยเป็นเช่นกัน วันนี้พี่จะมาบอกไกด์ไลน์น้องๆ เป็นขั้นตอนเลยนะคะ ว่าการที่เราอยากสร้าง Portfolio สวยๆ มันสามารถทำได้ด้วยตัวเองและที่สำคัญไม่อยากเกินความสามารถเราแน่นอนค่ะ
ขั้นตอนที่ 1: รู้จัก Application ตัวช่วยทำ Portfolio
หมวดทำรูป Graphic
Canva ช่วยทำกราฟฟิกต่างๆ ใช้ง่ายและสะดวกเพราะมี template ให้เลือกฟรีเยอะมากกก สามารถทำได้ทั้ง Portfolio, resume, card, presentation ขนาดกระดาษก็เลือกได้ ใช้ได้ทั้งในคอมและโทรศัพท์
Pixomatic แอพช่วยตัดต่อไดคัท ใครที่ไม่มีคอม หรือไม่ใช้ photoshop ไม่เก่ง ก็สามารถตัดต่อไดคัทรูปได้แบบง่ายๆโดยแอพนี้
Adobe Photoshop mix อีกหนีงแอพที่ช่วยตัดต่อรูปได้เนียนเหมือนตัดในคอมแต่แอพนี้จะทำได้ง่ายกว่า สามารถใช้ในมือถือหรือไอแพดได้
Picart แอพสารพัดนึกที่สามารถทำได้หลายย่าง ไม่ว่าจะเป็นตัดต่อ รีทัช ใส่ข้อความ ซ้อนภาพกับข้อความ ทำให้เราตกแต่งและสร้างสรรค์รูปภาพออกมาได้อย่างครีเอท
หมวดสร้างหาแรงบันดาลใจและไอเดีย
Pinterest และ Behance แอพในการหา inspiration และ idea ในการสร้างสรรค์ผลงาน บางคนอาจคิดยังไม่ออกว่าจะสร้างสรรค์ผลงานตัวเองออกมาแบบไหน ลองมาเสริชหาในแอพนี้มีเพียบ
CamScanner เเละ Scanbot Pro แอพสแกนเอกสาร ต่างๆ ใช้ได้เลยจากโทรศัพท์ เอาไว้สแกนเกียรติบัตรลงพอร์ตก็ได้
ขั้นตอนที่ 2 : เลือก Mood & Tone ที่โดนใจ
สิ่งสำคัญที่งานออกแบบต้องมีนั้นก็คือ mood&tone เพื่อเป็นตัวกำหนด concept design ของงานว่าเราอยากให้พอร์ตโฟลิโอของเราสื่ออารมณ์และความรู้สึกมาแบบไหน
วิธีการกำหนด mood & tone ของพอร์ตโฟลิโอ ใช้หลักเกณฑ์การเลือกง่ายๆ
1. เลือกให้เข้ากับบุคลิกความชอบเพื่อสื่อความเป็นตัวตนของเรา
2. เลือกให้เข้ากับคณะที่เราจะยื่น เช่น คณะแฟชั่นการออกแบบเราอาจเลือก mood แบบสีสันแหวกๆแนวไปเลย หรือ คณะแพทย์ อาจเน้น tone ขาวๆเ รียบๆสบายตา
3. เลือกสีและการตกแต่งให้ไปในทางเดียวกัน เรียกง่ายๆ ก็คือคุมโทนนั่นเอง!
ขั้นตอนที่ 3 : เลือก Theme และ Style
ขั้นตอนนี้พี่จะแนะนำให้น้องๆ รู้จัก Theme และ Style ต่างๆ แบบคร่าวๆ ให้น้องๆ สามารถนำไปเป็น Keyword เพื่อใช้ในการ Search หาแรงบันดาลใจต่อค่ะ
– Vintage หรือ Retro Style แนวย้อนยุคแบบชิคๆเกร๋ๆ สร้างความแปลกใหม่ให้กับผลงานของเรา เหมาะกับคณะที่เน้นความสร้างสรรค์ คณะสาย art ทั้งหลาย เช่น คณะนิเทศศาสตร์ คณะแฟชั่นและออกแบบ มัลติมีเดียและกราฟฟิก
– Colorful style สาดสีใส่แบบสุดๆ เขียว ฟ้า แดง เหลือง จัดมาให้หมด แนวนี้สามารถสื่อความเป็นตัวตนว่าเราเป็นคนร่าเริง สดใส หรือจะเลือกคุมโทนทั้งพอร์ตไปเลย 1 สี เช่น สีเหลือง สีฟ้า สีน้ำเงิน สีชมพู
– Minimal style แนวเรียบๆแต่แฝงความชิคๆคูลๆ ด้วยโทนสีขาว ดำ หรือสีอ่อนๆ ความมินิมอลจะให้ความรู้สึกนิ่ง สงบ สุขุม ตรงไปตรงมา แต่ลึกซึ้งและพิเศษ
– Elegant style เรียบหรูดูโก้ เน้นความ high class เช่น ลายหินอ่อน สีทอง สีเทา สีสีดำ สีขาว
– Pastel แบบสายหวาน สื่อความน่ารัก อ่อนหวาน ละมุน ดูเป็นคนถ่อมตน แถมสีพาสเทลยังส่งผลต่อคนที่รับชม เพราะสร้างอารมณ์ความรู้นึกคิดไปในทางบวก ได้เปรียบกับการเอาไปยื่นพอร์ตให้คณะกรรมการชมเลยทีเดียว
ขั้นตอนที่ 4 : การจัดเรียง Layout Portfolio
ในกรณีที่คณะได้กำหนด Format ของพอร์ตโฟลิโอ ออกมาให้แล้วว่าต้องจัดหน้าอย่างไร และ มีเนื้อหาอะไรด้านในบ้างให้น้องๆ ทำไปตามกำหนดของคณะได้เลยนะคะ แต่ถ้าคณะไม่ได้มีกำหนดมาให้ อันนี้ก็จะเป็น Guideline ที่ให้น้องๆ ได้ลองทำตามกันดูค่ะ แนะนำว่าเนื้อหาจำนวนไม่เกิน 10 หน้าเป็นจำนวนที่พอดีนะคะ แต่ถ้าพยายามแล้วไม่สามารถจริงๆ เกินสัก 1-2 หน้าก็ไม่เป็นไรค่ะ
ส่วนแรก (ไม่นับใน 10 หน้า )
● หน้าปก สารบัญ ปกหลัง
ส่วนเนื้อหา
● ประวัติส่วนตัว
● การศึกษา
● เหตุผลที่อยากศึกษาในคณะนั้น หรือ ถ้าเรายื่นภาคอินเตอร์ก็คือ Statement of Purpose
● รางวัลผลงาน
● เกียรติบัตร
● กิจกรรม
ขั้นตอนที่ 5 : มาเช็ค Do & Don’t กัน
สิ่งที่ควรทำ (Do)
● เช็ค วัน เวลา เดือนที่เปิดยื่น กฎเกณฑ์การทำพอร์ต
● วางแผนการทำพอร์ตล่วงหน้า
● ใช้ภาษาทางการ แต่อ่านแล้วเข้าใจกันทั่วไป ระวังภาษาวิบัติ ภาษาพูด การสะกดคำ
● นำเสนอความตั้งใจกับคณะที่เราจะไปยื่น ใส่ part ความมุ่งมั่น แรงบันดาลใจ แพชชั่น
● มีที่มาที่ไปชัดเจน ผลงาน กิจกรรม เกียรติบัตร ระบุวันที่ เวลา ปี ให้ชัดเจน
● คุมโทน สี และ pattern ให้ไปในทางเดียวกัน
● ทำพอร์ตไว้ 2 ภาษา ไทยและอังกฤษ
สิ่งที่ไม่ควรทำ (Don’t)
● อย่าเขียนคำนำพอร์ตแบบคำนำรายงาน ใช้วิธีเกริ่นและเล่าเรื่องให้น่าสนใจ ให้ผู้อ่านรู้สึกอยากรู้จักเราเพิ่ม
● อย่าใส่ข้อมูลเยอะ อัดแน่นเกิน บางส่วนอาจเน้นภาพ เช่น ผลงาน เกียรติบัตร เพื่อให้เห็นภาพจริงของการทำงาน
● ห้ามคัดลอกผลงานหรือเนื้อหาคนอื่นมาจากในอินเทอร์เน็ต
● อย่าใช้ font เรื่อยเปื่อยสะเปะสะปะ อันนี้ก็สวยอันนั้นก็ดี เลือกเพลินหัวข้อหน้านี้ font นึง อีกหน้า font อื่น ดูไม่มีการจัดระเบียบ
สรุป
ขั้นตอนที่ 1 รู้จัก Application ที่ช่วยทำพอร์ตโฟลิโอ
หมวดทำรูป graphic
● Canva
● Pixomatic
● Adobe Photoshop mix
● Picart
หมวดหาไอเดีย
● Pinterest
● Behance
หมวดสแกนเอกสาร
● Camscanner
● Scanbot Pro
ขั้นตอนที่ 2 เลือก Mood & Tone ในพอร์ตโฟลิโอ
วิธีเลือก Mood & Tone ให้ใช้หลักเกณฑ์การเลือกดังนี้
1. เลือกให้เข้ากับตัวตนและบุคลิกของเรา
2. เลือกให้เข้ากับคณะที่เราจะยื่น
3. เลือกสีและการตกแต่งให้คุมโทน
ขั้นตอนที่ 3 เลือก Theme & Style
รู้จักกับ Style ต่างๆ คร่าวๆ เพื่อนำ Keyword ไปใช้ search ในการหาแรงบันดาลใจในการทำพอร์ตโฟลิโอต่อค่ะ
1. Vintage หรือ Retro Style
2. Colorful style
3. Minimal style
4. Elegant style
5. Pastel
ขั้นตอนที่ 4 การจัดเรียง Layout ของพอร์ตโฟลิโอ
ในกรณีที่คณะได้กำหนด Format ของพอร์ตโฟลิโอ ออกมาให้แล้วให้น้องๆ ทำไปตามกำหนดของคณะได้เลย แต่ถ้าคณะไม่ได้มีกำหนดมาให้ สามารถทำตาม Guideline นี้ได้ค่ะ
● ส่วนแรก : หน้าปก สารบัญ ปกหลัง
● ส่วนเนื้อหา (ไม่ควรเกิน 10 หน้า) : ประวัติส่วนตัว การศึกษา เหตุผลที่อยากเข้า Statement of Purpose รางวัลผลงาน เกียรติบัตร กิจกรรม
สิ่งสำคัญสุดท้าย
● เช็ค วัน เวลา เดือนที่เปิดยื่น กฎเกณฑ์การทำพอร์ต
● ใช้ภาษาทางการ ตรวจการสะกดคำให้ถูกต้อง
● นำเสนอความตั้งใจกับคณะที่เราจะไปยื่น
● ระบุที่มาที่ไป และ วันที่ของทุกผลงาน กิจกรรม และ เกียรติบัตร อย่างชัดเจน
● ควรทำพอร์ตไว้ 2 ภาษา ไทยและอังกฤษ
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับน้องๆ ในการทําพอร์ตเข้ามหาลัยนะคะ สุดท้ายขอให้น้องๆ ติดคณะในฝันกันทุกคนเลยค่ะ