การเลือกคณะและสาขาวิชาที่ต้องการอยากศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยนั้นเป็นหนึ่งในเรื่องที่น้องๆทุกคนต้องตัดสินใจ โดยหนึ่งในตัวเลือกที่น่าสนใจก็คือสาขาวิชาที่เป็นหลักสูตรอินเตอร์ มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยมีหลายแห่งและหลายสาขาวิชาให้เลือกมากมาย วันนี้พี่ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยมาให้น้องๆ แล้วค่ะ ว่ามหาวิทยาลัยในไทยเป็นอย่างไรและมีอะไรบ้าง
เตรียมตัวให้พร้อมกับข้อสอบมาตรฐานเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทย
ในการสมัครเข้าเรียนมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยนั้น จะต้องใช้คะแนนสอบเป็นหนึ่งในเกณฑ์ในการยื่นเข้าสมัคร เช่น IELTS, IB, TOELF, A-Level, SAT เป็นต้น โดยแต่ละหลักสูตรนานาชาติในประเทศไทยนั้นจะมีการใช้คะแนนสอบที่ต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
IELTS
IELTS คือการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษ 4 ทักษะ (ฟัง พูด อ่าน และเขียน) โดยจะสามารถเก็บผลคะแนนไว้ได้ทั้งหมด 2 ปี และมีค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบประมาณ 7,350 บาท (แบบทั่วไป)
IB
IB หรือ International Baccalaureate คือระบบการศึกษารูปแบบหนึ่ง ที่จะมีการสอบเพื่อให้ได้ IB Diploma ที่จะสามารถใช้เทียบเป็นวุฒิซึ่งเป็นหนึ่งในหลักฐานที่ใช้ในการยื่นเข้าสมัครมหาวิทยาลัยอินเตอร์นั่นเอง
TOEFL
TOELF นั้นเป็นการสอบวัดความสามารถทางภาษาอังกฤษเช่นเดียวกับไอเอล แต่ IELTS กับ TOEFL นั้นจะมีข้อที่แตกต่างกันเล็กน้อย โดย TOEFL จะทดสอบทั้งหมด 4 ทักษะเช่นเดียวกัน และมีค่าสมัครสอบอยู่ที่ประมาณ 6,000 บาท
A-Level
A-Level คือการสอบวัดความรู้ความสามารถทางวิชาการของน้องๆที่มีอายุ 17 ปีขึ้นไป โดยมีวิชามากมายให้เลือก โดยมักจะเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่เรียนในระดับปริญญาตรี และขึ้นอยู่กับคณะอินเตอร์ในไทยว่าจะกำหนดเกณฑ์ของแต่ละวิชาอยู่ที่เท่าไร
SAT
SAT คือการสอบมาตรฐานที่วัดความสามารถทางคณิตศาสตร์ (Mathmetics) และภาษาอังกฤษ (Reading and Writing) โดยจะมีค่าสมัครสอบอยู่ที่ประมาณ 3,200 บาท
ความแตกต่างระหว่างการเรียนอินเตอร์ vs ภาคปกติ
มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยมีข้อแตกต่างจากหลักสูตรอื่นๆ ในภาคปกติ ดังนี้
- เรียนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น: เนื้อหาของแต่ละวิชาในการเรียนในคณะภาคอินเตอร์จะมีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ในขณะที่ถ้าเป็นภาคปกติส่วนมากจะเป็นการเรียนการสอนด้วยภาษาไทย
- ระยะเวลาการเตรียมตัวที่มากกว่า: คะแนนที่ใช้ในการสอบเข้าคณะอินเตอร์นั้นโดยปกติจะมีอายุ 2 ปีซึ่งหมายความว่าน้องๆ ที่ต้องการเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยนั้นจะสามารถวางแผนการสอบของตัวเองได้หลายรอบ และสามารถเลือกรอบที่คะแนนที่ดีที่สุดในการยื่นสมัครได้ แต่ภาคปกติจะมีการสอบแค่ครั้งเดียวต่อปีเท่านั้น
- สภาพแวดล้อมในคณะ: มหาวิทยาลัยหลักสูตรนานาชาตินั้นโดยปกติจะมีการใช้การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ การเข้าเรียนในคณะภาคอินเตอร์จะทำให้น้องๆ ได้พัฒนาทักษะภาษาอังกฤษไปด้วยเช่นกัน
สำรวจหลักสูตรอินเตอร์น่าสนใจในไทย
มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยนั้นมีหลากหลายที่ ซึ่งจะมีสาขาวิชาที่ให้เรียนและคะแนนขั้นต่ำที่กำหนดสำหรับการสมัครเข้าที่ต่างกันเช่นกัน ดังนี้
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยในไทยที่มีการเปิดคณะอินเตอร์หลายสาขาวิชาให้เลือกเรียนได้ โดยแต่ละสาขาวิชามีเกณฑ์การรับสมัครที่ต่างกันไป เช่น
- คณะอักษรศาสตร์ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (BALAC): ใชัคะแนนขั้นต่ำ SAT Verbal 450 และ IELTS 6.5
- คณะพาณิชศาสตร์และการบัญชี (BBA): ใช้คะแนนรวม SAT ไม่ต่ำกว่า 1270 และ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
- คณะจิตวิทยา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา (JIPP): ใช้คะแนนรวม SAT ไม่ต่ำกว่า 1100 และ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.5
มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดลนั้นมีมหาวิทยาลัยสำหรับหลักสูตรอินเตอร์แยกโดยเฉพาะ เรียกว่า วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University International College หรือ MUIC) โดยมีคณะอินเตอร์มากมาย เช่น
- คณะบริหารธุรกิจ (BBA MUIC): ใช้คะแนนขั้นต่ำ SAT Math 600 และ IELTS 6.0
- คณะวิศวกรรมศาสตร์: ใช้คะแนนขั้นต่ำ SAT Math 600 และ IELTS 6.0
- คณะนิเทศศาสตร์: ใช้คะแนนขั้นต่ำ SAT Math 500 และ IELTS 6.0
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เองก็มีหลักสูตรอินเตอร์หลายสาขาวิชาให้เลือกเรียนเช่นกัน เช่น
- คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาอังกฤษ-อเมริกันศึกษา (BAS): ใชัคะแนนขั้นต่ำ IELTS 6.5 หรือ SAT Verbal 400
- คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน สาขาวิชาสื่อ (BJM): ใช้คะแนนขั้นต่ำ IELTS 6.0 หรือ SAT Verbal 400
- คณะเศรษฐศาสตร์: ใช้คะแนนรวม SAT ไม่ต่ำกว่า 1,200 คะแนน (คะแนน SAT Math ไม่ต่ำกว่า 600 คะแนนและ SAT Verbal ไม่ต่ำกว่า 460 คะแนน) และ IELTS ไม่ต่ำกว่า 6.0
มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศิลปากรเองก็มีหลักสูตรอินเตอร์ให้เลือกเรียนได้เช่นกัน โดยเกณฑ์คะแนน IELTS ขั้นต่ำของหลักสูตรอินเตอร์ในมหาวิทยาลัยศิลปากรจะอยู่ที่ 5.5 และมีตัวอย่างหลักสูตรทีเปิดให้เรียนได้แก่
- สาขาวิชาการจัดการโรงแรม
- สาขาวิชาจัดการตราสินค้าหรูหรา
- สาขาวิชาการออกแบบสื่อสารดิจิทัล
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL)
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังก็มีหลักสูตรอินเตอร์ให้เลือกเรียนได้เช่นกัน โดยแต่ละคณะจะมีเกณฑ์คะแนนที่แตกต่างกันไป เช่น
- วิศวกรรมศาสตร์ (ทุกสาขา): ใช้คะแนน IELTS ขั้นต่ำที่ 6.5 และ SAT ขั้นต่ำที่ 1020
- อุตสาหกรรมการบิน: ใช้คะแนน IELTS ขั้นต่ำที่ 6.0 และ SAT Math ขั้นต่ำที่ 600
- บริหารธุรกิจ: ใช้คะแนน IELTS ที่ 5.0
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT)
อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยก็คือมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนั่นเอง โดยส่วนใหญ่แล้วจะไม่ต้องใช้คะแนนสอบในการยื่น แต่จะมีบางคณะที่จะขอให้ยื่นคะแนนผลภาษาอังกฤษ เช่น คณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ เป็นต้น
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เองก็มีคณะอินเตอร์ให้เลือกเรียนเช่นกัน โดยจะมีเกณฑ์การรับสมัครต่างกันบ้างในแต่ละคณะ เช่น
- คณะวิศวกรรมศาสตร์: ใช้ IELTS ขั้นต่ำที่ 5.5 และ SAT Math 600
- คณะมนุษยศาสตร์: ใช้ IELTS ขั้นต่ำที่ 4.5 และ SAT Verbal 520
- คณะเศรษฐศาสตร์: ใช้ IELTS ขั้นต่ำที่ 5.0 และ SAT Math 450
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
สำหรับคณะภาคอินเตอร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเองก็มีให้เลือกเรียนเช่นกัน โดยคะแนนขั้นต่ำของ IELTS ที่จะใช้สมัครเข้านั้นจะอยู่ที่ 4.5 – 5.0
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยก็คือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยที่จะมีหลากหลายคณะให้เลือกศึกษาได้ และเกณฑ์คะแนน IELTS ขั้นต่ำที่ใช้ในการสมัครเข้าศึกษาจะอยู่ที่ 4.5 – 5.5 ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละสาขาวิชาด้วย
เปิดโอกาสการศึกษากับการเรียนหลักสูตรอินเตอร์
มหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยมีหลายแห่งที่ให้น้องๆ เลือกสมัครเข้าเรียน พี่ๆ ได้ยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยและหลักสูตรนานาชาติในไทยให้ดูกันไปแล้ว น้องๆ ควรที่จะศึกษาเกณฑ์การรับสมัครและวิธีการสมัครให้ดีก่อนที่จะยื่นรับสมัคร เพื่อที่จะทำคะแนนสอบให้ได้ตามเกณฑ์ที่ต้องการ ตัวช่วยดีๆ ก็สำคัญ ทาง EngSnack ของเราก็มีทั้งคอร์สติว IELTS และคอร์สติว SAT ที่จะเตรียมตัวน้องๆ ให้สอบได้คะแนนดีตามที่ต้องการและเข้ามหาวิทยาลัยอินเตอร์ในไทยที่น้องๆ ใฝ่ฝันได้แน่นอน