BBA vs BC สองหลักสูตรนี้ต่างกันอย่างไร

Table of Contents

     ในการเลือกคณะที่ใช่ มหาลัยฯ ที่ชอบอาจจะเป็นสิ่งที่น่าปวดหัวสำหรับน้องหลายๆ คน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันมีตัวเลือกคณะและหลักสูตรที่น่าสนใจมากมาย และที่สำคัญบางหลักสูตรยังมีความคล้ายคลึงกันจนยิ่งทำให้เลือกได้ยากเข้าไปอีก


     BC (ชื่อเก่า BEC) และ BBA เป็น 2 หลักสูตรที่ได้รับความสนใจเยอะมาก และถูกถามเข้ามาว่าทั้ง 2 คณะนี้เรียนแตกต่างกันอย่างไร ในโพสต์นี้จะพามาทำความเข้าใจหลักสูตรของทั้ง 2 ที่มากขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือประกอบการตัดสินใจสำหรับน้องๆ ที่กำลังอาจลังเลว่าจะเลือกเรียน BBA หรือ BC ดีค่ะ

เกริ่นนำหลักสูตร

BBA

     หลักสูตร BBA หรือบริหารฯ หลักสูตรนานาชาติเป็นหลักสูตรที่ได้การยอมรับอย่างกว้างขวาง เพราะเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการศึกษาทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติทางด้านธุรกิจ โดยมีเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมเรื่องการเงิน การตลาด การจัดการ และการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ


หลักสูตร BBA จากมหาลัยฯ ชื่อดังในไทยมีอยู่ด้วยกัน 7 สถาบันด้วย ได้แก่

1. BBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีให้เลือก 2 สาขา
  1. International Business Management มี 3 สาขาย่อย
    • International Business
    • Financial Analysis and Investment
    • Brand Marketing Management
  1. Accounting
2. BBA ธรรมศาสตร์มีให้เลือก 3 สาขา
  1. Accounting 
  2. Marketing
  3. Finance
3. BBA MUIC มีให้เลือก 4 สาขา
  1. Business Economics 
  2. Finance
  3. International Business
  4. Marketing
4. BBA เกษตรศาสตร์มีให้เลือก 2 สาขา
  1. Marketing 
  2. Business Administration
5. BBA SUIC มีให้เลือก 3 สาขา
  1. Business and Technology 
  2. Luxury Brand Management
  3. Hotel Management
6. BBA KMITL มีให้เลือก 2 สาขา
  1. BBA 
  2. BBA Global Entrepreneurship
7. BBA ABAC มีให้เลือก 9 สาขา
  1. Entrepreneurship and Innovation
  2. Marketing
  3. International Business
  4. Finance
  5. Digital Business
  6. Supply Chain
  7. Insurance
  8. Real Estate
  9. Hospitality and Tourism

BC

     BC การสื่อสารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ หรือชื่อภาษาอังกฤษคือ Business Communication (แต่ก่อนเราจะรู้จักกันในชื่อของ BEC: Business English Program) เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี โดยเน้นเฉพาะทักษะการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกรรมทางธุรกิจ


BC เปิดสอน 4 วิชาเอก ได้แก่

  1. การสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ
  2. การสื่อสารภาษาจีนเพื่อธุรกิจ
  3. การสื่อสารภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจ
  4. การสื่อสารภาษาเกาหลีเพื่อธุรกิจ

         หลักสูตรของแต่ละวิชาเอกได้รับการออกแบบมาเพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา ซึ่งรวมถึงการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนในบริบททางธุรกิจ นอกจากนี้ หลักสูตรจะเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับทักษะที่จำเป็นสำหรับธุรกิจในบริบททางวัฒนธรรมที่หลากหลาย รวมถึงการประชุมทางธุรกิจ การนำเสนอทางธุรกิจ การเจรจาต่อรอง กฎหมายธุรกิจ การแปลและการตีความ โปรแกรมนี้เปิดโอกาสให้นักเรียนเพิ่มความสามารถทางภาษาที่สามซึ่งจะช่วยขยายโอกาสในการทำงานในอนาคต

วิชาหลักของทั้ง 2 คณะที่เรียนคล้ายกัน

คณะ BBA และ BC มีวิชาที่เรียนคล้ายกันดังนี้

  1. Strategic Marketing
  2. International Economics
  3. Financial Accounting
  4. International Management and Entrepreneurship
  •  

วิชาหลักของทั้ง 2 คณะที่เรียนไม่เหมือนกัน

BBA

     หลักสูตรนี้จะเน้นให้ผู้เรียนมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งในด้านแนวคิดทางธุรกิจ ซึ่งรวมถึงการบัญชี การเงิน การตลาด และการจัดการ วิชาบังคับ (Core) ในหลักสูตร BBA ได้แก่

  1. Accounting
  2. Taxation
  3. Business Statistics
  4. Business Finance
  5. Introductory Microeconomics
  6. Introductory Macroeconomics

นอกจากนี้ยังมีวิชาบังคับของแต่ละสาขา (Major) ที่เลือกอีกด้วย เช่น 

  1. สาขาบัญชี (Accounting) จะเจาะลึกในวิชาประเภท Auditing, Advanced Accounting 2 และ Financial Reporting and Statement Analysis เป็นต้น
  2. สาขาการเงิน (Finance) จะเจาะลึกในวิชาประเภท Financial Mathematics and Statistics, Investment และ Wealth Management เป็นต้น
  3. สาขาการตลาด (Marketing) จะเจาะลึกในวิชาประเภท Consumer Behavior, Brand Management และ Marketing Research for Decision Making

BC

     เนื้อหาจะเน้นทักษะการสื่อสารภาษาที่จำเป็นสำหรับการทำธุรกิจ หลักสูตรได้รับการออกแบบเพื่อพัฒนาทักษะต่างๆ ซึ่งรวมถึงการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนภาษาในบริบททางธุรกิจ ซึ่งวิชาบังคับ  (Core) ในหลักสูตร BC ไม่ว่าจะเรียนสาขาภาษาใดก็ตาม จะมีวิชาดังต่อไปนี้

  1. International Business English Reading
  2. International Business English Writing
  3. Business English Listening and Speaking
  4. Project Management
  5. Internship Program

นอกจากนี้ยังมีวิชาบังคับของแต่ละสาขา (Major) ที่เลือกอีกด้วย เช่น

  1. ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ จะเจาะลึกในวิชา Business Presentations and Meetings, Academic Writing, Intercultural Business Communication และ Technical Business Writing เป็นต้น

  2. ภาษาจีนเพื่อธุรกิจ จะเจาะลึกในวิชา Chinese Communication, Doing Business in China และ Chinese Business Writing
  3. ภาษาญี่ปุ่นเพื่อธุรกิจ จะเจาะลึกในวิชา Japanese Business Communication, Japanese Business Writing และ Japanese Translation
  4. ภาษาเกาหลีเพื่อธุรกิจ จะเจาะลึกในวิชา Korean Business Communication, Korean Business Writing และ Korean Translation

จบไปแล้วทำอาชีพอะไรได้บ้าง

BBA

  1. นักวิเคราะห์การเงิน
  2. ผู้จัดการฝ่ายการตลาด
  3. ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล
  4. ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการ
  5. ที่ปรึกษาด้านการจัดการ
  6. นักธุรกิจ
  7. นายธนาคารเพื่อการลงทุน

BC

  1. พนักงานในองค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจระหว่างประเทศ
  2. พนักงานในบริษัทข้ามชาติ
  3. นักธุรกิจ/เจ้าของกิจการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับต่างประเทศ
  4. นักแปลเอกสารทางธุรกิจ
  5. อาชีพอื่นๆ ที่ต้องใช้ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษเช่น พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน นักประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

เกณฑ์การสอบเข้า

ในที่นี้จะเปรียบเทียบหลักสูตร BBA ของธรรมศาสตร์กับ BC ธรรมศาสตร์

BBA Thammasat

รอบ Inter Portfolio 1 และ 2

ขั้นที่ 1 : เกณฑ์คุณสมบัติทั่วไป
  1. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษา/กำลังจะจบ ม.6 หรือเทียบเท่าตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนด
ขั้นที่ 2 : เกณฑ์คุณสมบัติเฉพาะ

   1.ผู้สมัครมีคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ คะแนนสอบ SAT (Scholastic Aptitude Test) และ/หรือ GSAT (General Scholastic Aptitude Test) ที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่าดังนี้

BC

   2. ผู้สมัครมีคะแนนอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ คะแนนสอบ SAT (Scholastic Aptitude Test) และ/หรือ GSAT (General Scholastic Aptitude Test) ที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่าดังนี้

  3. Essay และ สัมภาษณ์ โดยต้องได้ขั้นต่ำ 5 คะแนน คิดเป็นสัดส่วน 10%

BC Thammasat

  1. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษา/กำลังจะจบ ม.6 หรือเทียบเท่าตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนด และมีเกรดเฉลี่ย 4 – 6 เทอม ไม่ต่ำกว่า 3.00
  2. ผู้สมัครสามารถเลือกผลการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้แทนผลการศึกษาได้
    • ผล IGCSE 5 วิชา (ไม่รวมภาษาไทย) ผลคะแนนไม่ต่ำกว่า C
    • New GED minimum score of 660 (out of 800), minimum of 145 for each subject
  3. มีผลงานด้านวิชาการในสาขาภาษาที่เลือก และแสดงให้เห็นถึง Academics Activity, Business and Management Skill, Green Living and Sustainability, The world of digital and technology in 21st century และ Culture and Language specialities
  4. ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนขั้นต่ำในการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

    5. คะแนนความสามารถภาษาที่สามอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

     6.สัมภาษณ์

เกณฑ์คุณสมบัติ รอบ Inter Admission 1 + 2
  1. ผู้สมัครต้องสำเร็จการศึกษา/กำลังจะจบ ม.6 หรือเทียบเท่าตามเงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กำหนด และมีเกรดเฉลี่ย 5 เทอม ไม่ต่ำกว่า 2.75 หรือ 6 เทอมไม่ต่ำกว่า 2.5
  2. ผู้สมัครสามารถเลือกผลการศึกษาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้แทนผลการศึกษาได้
    • ผล IGCSE 5 วิชา (ไม่รวมภาษาไทย) ผลคะแนนไม่ต่ำกว่า C
    • New GED minimum score of 660 (out of 800), minimum of 145 for each subject
  3. ผู้สมัครจะต้องได้คะแนนขั้นต่ำในการทดสอบความสามารถทางภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

     4. คะแนนความสามารถภาษาที่สามอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้:

     5. สอบข้อเขียนภาษาอังกฤษและสัมภาษณ์

จำนวนนักรับนักศึกษาจำนวน 150 คน

สรุป

     BC คือคณะศิลปศาสตร์ (ภาษา) มีเรียนวิชาพื้นฐานบริหารแต่จะเรียนเน้นไปที่การเรียนและการใช้งานภาษามากกว่า ส่วน BBA คือคณะบริหาร เน้นทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติทางด้านธุรกิจ โดยมีเนื้อหาวิชาที่ครอบคลุมเรื่องการเงิน การตลาด การจัดการ และการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ หากน้องๆ คนไหนชอบภาษามากกว่า อยากเรียนรู้การบริหารแค่พอเป็นพื้นฐาน BC น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมกว่า แต่ถ้าน้องมีความสนใจเกี่ยวกับด้านบัญชี การเงิน การตลาดและการจัดการ ชอบสายงานบริหารและชอบวิเคราะห์ข้อมูล แก้ไข้ปัญหา คณะ BBA น่าจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมสำหรับน้องค่ะ นอกจากนี้ๆ น้องๆ สามารถศึกษาตัวเนื้อหาหลักสูตรของทั้งสองคณะนี้อย่างละเอียดอีกครั้ง หรือสอบถามพี่ๆ ที่กำลังศึกษาอยู่ หรือศิษย์เก่าเพื่อเป็นตัวเลือกก่อนตัวสินใจเลือกเรียนระหว่าง 2 คณะนี้ค่ะ