โครงการ BIR เป็นหลักสูตรปริญญาตรี สาขาการเมืองและการระหว่างประเทศ (ภาคภาษาอังกฤษ) ซึ่งก่อตั้งโดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2552 โครงการ BIR เริ่มดำเนินงานเป็นหลักสูตรแรก และหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนวิชารัฐศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษ
BIR ต่างจากรัฐศาสตร์ภาคไทยอย่างไร
หลักๆ จะเป็นภาษาที่ใช้ในการเรียนการสอน ภาคอินเตอร์จะทำการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด อาจารย์ต่างชาติจะเยอะกว่า เพื่อนร่วมคลาสบางครั้งมีชาวต่างชาติด้วย ในเรื่องของหลักสูตร มีวิชาให้เลือกหลากหลาย (แต่วิชาบังคับหลักเหมือนกัน)
เรียนที่ BIR ดีอย่างไร
น้องๆ ที่เข้าศึกษาในคณะนี้ จะได้เรียนกับผู้มีประสบการณ์ เช่น วิทยากรผู้มีชื่อเสียงจากภายนอก ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี นักการทูต นายทหารระดับสูง นักสิทธิมนุษยชน ไปจนถึงผู้มีประสบการณ์ในองค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีมีโครงการแลกเปลี่ยนหรือฝึกงานให้น้องๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กับ ประเทศต่างๆ อาทิเช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ
คณะนี้เรียนที่ไหน
คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
ค่าเทอม
ค่าใช้จ่าย 476,000 บาทตลอดหลักสูตร
เรียนจบแล้วทำงานอะไร
ศิษย์เก่าของโครงการ BIR ล้วนประสบความสำเร็จในด้านการศึกษาต่อ หรือการประกอบอาชีพ โดยเรามีศิษย์เก่าอยู่ตามสาขาอาชีพที่หลากหลาย ทั้งทางด้านการทูต สื่อสารมวลชน สถาบันวิจัย รัฐวิสาหกิจ บริษัทมหาชน องค์กรระหว่างประเทศ เป็นต้น
อยากไปแลกเปลี่ยนต่างประเทศ
คณะรัฐศาสตร์ ได้มีการเซ็นสัญญาแลกเปลี่ยนนศ.กับหลากหลายประเทศด้วยกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อังกฤษ เยอรมนี จีน เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ฯลฯ ซึ่งข้อดีของการไปแลกเปลี่ยนภายใต้สัญญาของคณะ คือคณะที่น้องๆ ไปแลกเปลี่ยนในต่างประเทศจะเป็นคณะทางด้านรัฐศาสตร์ และถ้าน้องๆ เลือกเรียนวิชาที่ใกล้เคียงกันกับวิชาของคณะ ก็สามารถนำมาเทียบโอนวิชาได้
จบแล้วเรียนต่ออะไรได้บ้าง
ส่วนใหญ่แล้วศิษย์เก่ามักจะเรียนต่อปริญญาโททางด้านรัฐศาสตร์เจาะลึกไปที่ภูมิภาคที่สนใจ, social studies หรือ economic studies เป็นต้น
Admission Requirements
รอบ Portfolio
คุณสมบัติผู้สมัคร:
1. ผู้สมัครต้องเป็นผู้ที่กําลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
2. มีผลคะแนนเฉลี่ย ม.4 – ม.6 (5 ภาคการศึกษา) ไม่ต่ำกว่า 3.75 (ในวันรับสมัครอนุญาตให้นักเรียนที่มีผลคะแนน 4 ภาคการศึกษาสมัครได้ แต่ในวันสอบสัมภาษณ์นักเรียนต้องมีผลคะแนน 5 ภาคการศึกษาที่มีผลคะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.75 มาแสดง)
3. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่งโดยผลการสอบต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครสอบ
● TOEFL มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก IBT หรือ173 คะแนนจาก CBT
● IELTS มีคะแนนรวมเฉลี่ยอย่างน้อย 6.0 คะแนน
● TU GET มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก CBT
● GSAT มีคะแนนส่วน Reading, Writing and Language parts อย่างน้อย 400 คะแนนขึ้นไป
เกณฑ์การคัดเลือก:
1. ได้รับรางวัลแข่งขันด้านสังคมศาสตร์ระดับประเทศหรือนานาชาติ หรือ
2. เป็นตัวแทนประเทศในกิจกรรมด้านสังคมศาสตร์ระดับนานาชาติ หรือ
3. เป็นตัวแทนโรงเรียนในกิจกรรมด้านสังคมศาสตร์ระดับประเทศ หรือ
4. เป็นผู้นํากิจกรรมเพื่อสังคมหรือบําเพ็ญประโยชน์เพื่อชุมชนซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับพื้นที่
*สอบสัมภาษณ์โดยคณะกรรมการ
**การพิจารณาและการตัดสินผลการคัดเลือกของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
รอบรับตรงร่วม
ขั้นตอนการสอบเข้าแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน
ขั้นตอนแรก: ยื่น Requirement หลัก
ขั้นตอนที่สอง: ยื่นผลคะแนนสอบวิชาเฉพาะของโครงการ BIR คณะรัฐศาสตร์
ขั้นตอนที่สาม: สอบสัมภาษณ์
ยื่น Requirement หลักมีอะไรบ้าง
1. สําเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที 6 หรือเทียบเท่า
2. มีคะแนนเฉลี่ยสะสมชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.4-5) ไม่ต่ำกว่า 2.80 หรือ
● มีผลสอบ GED อย่างต่ำเท่ากับ 2,800 คะแนนหรือ
● มีผลสอบ NEW GED อย่างต่ำเท่ากับ 660 คะแนน และคะแนนทุกวิชาต้องไม่ต่ำกว่า165 คะแนน หรือ
● มีผลสอบ IGCSE หรือ GCSE หรือ GCE ‘O’ Level, อย่างต่ำเทียบเท่า C จำนวน 5 วิชาขึ้นไป และต้องมีผลสอบ AS จำนวนอย่างน้อย 5 วิชา เกรด A-E หรือ GCE ‘A’ Level จำนวนอย่างน้อย 3 วิชา เกรด A-E
● มีผลสอบ IB ระดับ/คะแนน อย่างต่ำเท่ากับ 4 ในจํานวน 5 วิชาขึ้นไป
3. มีผลคะแนนความรู้ภาษาอังกฤษ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยผลสอบจะต้องไม่เกิน 2 ปี นับถึงวันรับสมัครสอบ
● TOEFL มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก IBT หรือ173 คะแนนจาก CBT
● IELTS มีคะแนนรวมเฉลี่ยอย่างน้อย 6.0 คะแนน
● TU GET มีคะแนนรวมอย่างน้อย 500 คะแนน จาก PBT หรือ 61 คะแนนจาก CBT
● GSAT มีคะแนนส่วน Reading, Writing and Language parts อย่างน้อย 400 คะแนนขึ้นไป
ข้อสอบเฉพาะของโครงการ BIR คณะรัฐศาสตร์
ข้อเขียนของทางคณะจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน แบ่งเป็นความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ 50% และ วิชาเรียงความ 50% โดยจะเกี่ยวกับเนื้อหาประวัติศาสตร์สำคัญ ความรู้รอบตัว และเนื้อหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งนี้ผู้ที่จะได้รับการตรวจข้อสอบวิชาเรียงความจะต้องเป็นผู้มีคะแนนวิชาความรู้ทั่วไปทางรัฐศาสตร์ 250 อันดับแรกเพื่อเข้าสู่รอบสัมภาษณ์ต่อไป
การเตรียมตัวสอบข้อเขียน
น้องๆควรหมั่นศึกษาเนื้อหาความรู้รอบตัว และ เนื้อหาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ต่างๆ หมั่นติดตามข่าวสารต่างประเทศในทุกแง่มุม เพื่อเพิ่มพูนคลังความรู้รอบตัว และทักษะการคิดวิเคราะห์ ข้อสอบเน้นทดสอบความรู้และสามารถในการคิดวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีหลักเกณฑ์ นอกจากนี้ควรฝึกทักษะภาษาอังกฤษของตนเอง โดยเฉพาะทักษะการอ่านและเขียน แนะนำให้ฝึกอ่านข่าวภาษาอังกฤษทุกวัน และ ฝึกวิธีการเขียน essay ให้ถูกหลักด้วย
หากน้องๆสนใจดูรายละเอียดวิชาเพิ่มเติมได้ที่ http://www.polsci.tu.ac.th/nw_polsci/doc/bir2_2018.pdf